วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คำชี้แจง

          บล๊อกนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ การถอดบทเรียนจากผลการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ตามกรอบแนวคิดที่ สพป.นครปฐม เขต 2 พัฒนาขึ้น

          เนื้อหาที่นำเสนอในบล๊อกนี้เป็นประเด็นจากการประเมินตนเองของครู ตามแนวทาง ขั้นตอน และโครงสร้างการพัฒนา ดังนี้

          1. การทบทวนการเรียนรู้ โดยยึดตัวชี้วัดที่มีปัญหาหรือที่ควรพัฒนา โดยมีประเด็นเกี่ยวกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิด การอ่าน เหตุผล การคำนวณ PISA
          2. ข้อสอบตามตัวชี้วัด  (ทดสอบก่อนบทเรียน/ทดสอบหลังบทเรียน)
          3. สื่อ / วิธีสอน
          4. การเรียนรู้ของนักเรียน (ก่อนเรียน / พัฒนาการหลังเรียน)
          5. ทำอย่างต่อเนื่องครั้งละ 50 นาที 2 ครั้ง/สัปดาห์ (สอดคล้องกับประกาศ สพฐ.)
          6. มีภาระงาน/ชิ้นงาน ผลการประเมินตนเอง เดือนละ 4 ชุด 2 เดือน (การสอน การสอบ พัฒนาการของผู้เรียน)
          7. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยคุณครู ส่งข้อมูลรายงานผลการประเมินตนเอง ตามข้อ 1 - 6 มาสู่เวทีแห่งนี้ เพื่อสื่อสารกันในระบบ ICT ให้ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และประเมินเพื่อการพัฒนา
   
          ทั้งนี้ กิจกรรมที่ปฏิบัติ ได้แก่
          การศึกษา : ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการประเมินนานาชาติ  แนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนของ สพฐ.  รายงานการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2556  ตัวอย่างการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียน 
          อภิปราย : แนวทางและข้อเสนอแนะ  ความเป็นไปได้  การดำเนินการเพิ่มเติม
          บันทึกลงในแบบฟอร์ม : เป็นไฟล์ดิจิตัล ส่ง e-mail ถึงศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน เพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อยอด และนำเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระบบ ICT

e-mail ศน.ประจำโรงเรียน

ที่
ชื่อกลุ่มโรงเรียน
ชื่อ ศน.ประจำกลุ่มโรงเรียน
e-mail
1
มณฑลนครชัยศรี
นางสาวมณกาญจน์ ทองใย
mnnkrnthng06@gmail.com
2
ห้วยพลู
นางสาววิไลวรรณ โอรส
lakey011@hotmail.com
3
แหลมบัว
นางกฤษณาวรรณ ชื่นค้า
kit-ood@hotmail.com
4
พุทธรักษา
นางสาวพัชรี ยันตรีสิงห์
tap-70@hotmail.com
5
บางเลน
อนนท์ ศรีพิพัฒน์
สมชาย พูลศรี
รุ่งทิวา วัฒนวงศ์
วิไลวรรณ ตรีชั้น

6
เพชรบัวงาม
นายอนนท์ ศรีพิพัฒน์
srinon@hotmail.com
7
บางหลวง
นางวิไลวรรณ ตรีชั้น
paew2512@gmail.com
8
บางภาษี
นายสมชาย พูลศรี
sompulsri@gmail.com
9
บางเลนใต้
นางสาวรุ่งทิวา วัฒนวงศ์
non_tiva04@hotmail.com
10
ไร่ขิงพัฒนา
นางสาวรัตนา ศิริชยานันท์
ratanut@gmail.com
11
ท่าจีนก้าวหน้า
นายปรีชา สายค้ำ
preecha1409@gmail.com
12
เพชรจินดา
นางกนกรัตน์ สุพรรณอ่วม
ks.222500@gmail.com
13
พุทธมณฑล
นายธีระพงษ์ ศรีโพธิ์
sripho756@hotmail.com

ศน.ธีระพงษ์ ศรีโพธิ์

ศน.กนกรัตน์ สุพรรณอ่วม

ศน.ปรีชา สายค้ำ

ศน.รัตนา ศิริชยานันท์

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ศน.มณกาญจน์ ทองใย


ศน.วิไลวรรณ โอรส


ศน.กฤษณาวรรณ ชื่นค้า


ศน.พัชรี ยันตรีสิงห์


ศน.อนนท์ ศรีพิพัฒน์

(ทดสอบการแทรกข้อความ) 
รายงานผลการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ปีการศึกษา 2556
กลุ่มโรงเรียนเพชรบัวงาม
อำเภอบางเลนจังหวัดนครปฐม

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

เอกสารที่ศน. 9/2557


บทเรียนจากการนิเทศ

          การจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้เกิดคุณภาพนั้น ควรต้องประกอบด้วย  3  กระบวนการด้วยกัน คือ กระบวนการบริหาร  กระบวนการเรียนการสอน  และกระบวนการนิเทศการศึกษา
มีผู้ให้ความหมายของ  การนิเทศการศึกษาไว้ว่า การนิเทศ หมายถึง การชี้แจง การแสดง การแนะนำ การศึกษา หมายถึง การเล่าเรียน การฝึกฝน และการอบรม ดังนั้นการนิเทศการศึกษา จึงหมายถึง การชี้แจง การแสดง หรือการแนะนำเกี่ยวกับการสอนและการอบรม  การนิเทศการศึกษาเป็นภารกิจที่จำเป็นต่อการจัดการศึกษา เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย  ในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ดังจะเห็นได้จากเหตุผลความจำเป็นในหลายประการ เช่น ประการแรก  ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว บุคลากรในหน่วยงานทางการศึกษาจำเป็นต้องปรับปรุงตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือและพัฒนางาน ให้ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ประการที่สอง ในหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับมีเป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกันคือ พัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องใช้กระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศ เพื่อจะได้ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน การนิเทศการศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเหลือสนับสนุนให้กระบวนการบริหาร และการบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพถึงระดับที่พึงประสงค์  และประการสุดท้าย มาตรฐานการศึกษาของประเทศจำเป็นต้องมีการรักษาและควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐาน  และกระบวนการนิเทศการศึกษาก็มีขอบข่ายการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นการควบคุมมาตรฐานการศึกษาโดยตรง
จะเห็นว่าการนิเทศการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาในสถานศึกษา ให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตร สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รวมทั้งการบริหารจัดการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราจึงต้องให้ความสำคัญต่อการนิเทศการศึกษาอย่างยิ่งยวด

สภาพทั่วไปของการนิเทศ
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่นิเทศการศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2ในปีการศึกษา 2555  มีภาระหน้าที่ในการประสานงาน ดูแลรับผิดชอบเครือข่ายการนิเทศ “เพชรบัวงาม” อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีโรงเรียนในกลุ่มจำนวนทั้งสิ้น 11 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนตลาดเจริญสุข, โรงเรียนวัดโพธิ์, โรงเรียนวัดไผ่สามตำลึง, โรงเรียนวัดไผ่จรเข้, โรงเรียนบ้านหนองปรงกาญจนา, โรงเรียนวัดเกษตรตราราม, โรงเรียนวัดบัวหวั่น, โรงเรียนวัดบอนใหญ่, โรงเรียนวัดบางไผ่นารถ, โรงเรียนวัดนิลเพชร และโรงเรียนวัดบัวปากท่า  นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายให้ช่วยดูแลโรงเรียนในกลุ่ม “บางเลน”แทนศึกษานิเทศก์ที่ย้ายไปอีก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านไผ่คอกวัว, โรงเรียนบ้านประตูน้ำพระพิมล และโรงเรียนวัดดอนยอ  รวมจำนวนทั้งสิ้น 14 โรงเรียนในจำนวนนี้  มีโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดโพธิ์,และโรงเรียนบ้านประตูน้ำพระพิมล มีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีปริมาณนักเรียนไม่เกิน 120 คน  จำนวน 8  โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดไผ่สามตำลึง, โรงเรียนวัดไผ่จระเข้, โรงเรียนวัดเกษตราราม, โรงเรียนวัดบัวปากท่า, โรงเรียนบ้านหนองปรงกาญจนา, โรงเรียนวัดบอนใหญ่, โรงเรียนวัดบางไผ่นารถ และโรงเรียนบ้านไผ่คอกวัวส่วนอีก 4 โรงเรียนที่เหลือจัดเป็นโรงเรียนขนาดกลาง ได้แก่ โรงเรียนตลาดเจริญสุข, โรงเรียนวัดนิลเพชรโรงเรียนวัดบัวหวั่น และโรงเรียนวัดดอนยอ

ในกลุ่มนี้มีโรงเรียนที่ไม่มีผู้บริหาร จำนวน  5  โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดไผ่สามตำลึง, โรงเรียนวัดไผ่จระเข้, โรงเรียนวัดเกษตราราม โรงเรียนบ้านหนองปรงกาญจนา และโรงเรียนวัดบอนใหญ่
มีโรงเรียนที่ต้องเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดย สมศ. รอบที่ 3  ในระยะที่จะถึงช่วงเดือนธันวาคม 2556 – กุมภาพันธ์ 2557จำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดไผ่สามตำลึง, โรงเรียนวัดไผ่จระเข้,โรงเรียนวัดโพธิ์, โรงเรียนบ้านประตูน้ำพระพิมล, โรงเรียนวัดบางไผ่นารถ  ณ วันที่จัดทำรายงานฉบับนี้อยู่ในช่วงที่ประเมินไปแล้ว และอยู่ระหว่างรอผลแจ้งอย่างเป็นทางการ  ซึ่งมีแนวโน้มผ่านการรับรองทุกโรงเรียน
โรงเรียนที่ได้รับการประเมินภายนอก รอบที่ 3 แล้ว  และยืนยันรับรองผลการประเมินแล้ว จำนวน 9 โรงเรียน ยังไม่ได้รับการรับรอง จำนวน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดบอนใหญ่

การเตรียมนิเทศ
1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อการนิเทศได้แก่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนในความรับผิดชอบ 
2. วิเคราะห์ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย จุดเน้น ระดับองค์กรทั้งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2  และจังหวัดนครปฐม 
3. สร้างเครื่องมือ สื่อ ช่องทางการสื่อสาร เพื่อการนิเทศทั้งการนิเทศโดยตรงและการนิเทศทางไกล
4. จัดทำแผนนิเทศ/ปฏิทินการนิเทศ
การดำเนินการนิเทศตามแผน นอกจากได้ดำเนินการตามแผนปกติแล้ว ได้มีการขออนุญาตนิเทศเพิ่มเติมในโรงเรียนที่มีความต้องการจำเป็นเพิ่มเติมขึ้นอีกในประเด็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบที่ 3  และโรงเรียนที่ถูกประเมินรอบ 3 แล้วยังไม่ได้การรับรอง

ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการนิเทศ
          จำนวนห้องเรียน นักเรียน ครู จำแนกตามเพศ (ภาคผนวก)
แผนนิเทศปีการศึกษา 2555  มีประเด็นในการนิเทศ ดังนี้
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การยกระดับการอ่านเพื่อการสื่อสาร
ระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนและการเตรียมความพร้อมรับการประเมินภายนอก
การขับเคลื่อนจุดเน้นปฏิรูปการเรียนรู้  (เน้นการส่งเสริมให้การนิเทศภายในโรงเรียนมีความเข้มแข็งการนิเทศสู่ประชาคมอาเซียนการนิเทศเพื่อให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้แทบเล็ตสื่อ/นวัตกรรม และเทคโนโลยี)
จากประเด็นในการนิเทศ  ได้จัดเป็นกลุ่มหลัก 2 กลุ่ม ตามสถานการณ์ของโรงเรียน คือ กลุ่มที่ต้องเร่งรัดเตรียมความพร้อมรับการประเมินระบบประกันคุณภาพภายนอก โดย สมศ. รอบที่ 3  และกลุ่มที่ต้องขับเคลื่อนนโยบาย จุดเน้น สู่การปฏิบัติ  ในกลุ่มแรกมีโรงเรียนที่จะต้องรับการประเมิน จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดไผ่สามตำลึง,โรงเรียนวัดไผ่จระเข้, โรงเรียนวัดโพธิ์, โรงเรียนวัดบางไผ่นารถ, โรงเรียนบ้านประตูน้ำพระพิมล, โรงเรียนบ้านไผ่คอกวัว  ซึ่งต้องมีการนิเทศเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ และอีก 8 โรงเรียนที่เหลือนิเทศในประเด็นการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ  โดยมีการกำกับ ติดตามและประเมินตามเกณฑ์ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ประเด็นที่น่าสนใจและข้อสังเกตจากการนิเทศ

1. การนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
   1) สถานศึกษายังขาดการศึกษา วิเคราะห์ ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และนำผลมาสู่การวางแผนกำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหาและพัฒนา
   2) ขาดการกำหนดกิจกรรมการยกระดับทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง  ส่วนมากกิจกรรมเน้นอยู่ที่การติวข้อสอบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
   3) ครูยังไม่ใช้งานวิจัยเป็นฐานในการแก้ปัญหาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ขาดการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างจริงจัง
   4) วิทยฐานะของครูไม่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาและการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

2. การนิเทศเพื่อยกระดับการอ่านออกเขียนได้  มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
   1) นักเรียน ป. ในภาพรวมอ่านออก เขียนได้
   2) นักเรียน ป.6 ในภาพรวมสามารถอ่านได้คล่อง แต่เขียนไม่คล่อง พบว่า การอ่านคล่องไม่ส่งผลต่อการเขียนคล่อง อ่านแล้วจับใจความไม่ได้ สรุปความไม่ได้ ไม่สามารถสื่อความจากการอ่านโดยสมบูรณ์ตามสมรรถนะได้
   3) นักเรียนต่างชาติไม่เป็นปัญหาและอุปสรรค์ต่อการจัดการเรียนการสอนด้านภาษา
   4) ขาดกิจกรรมซ่อมเสริมที่ต่อเนื่องจากการตรวจแบบฝึกหัดหรือตรวจงานและยังขาดการตรวจงานที่ต่อเนื่อง
   5) กิจกรรมในบทเรียนที่ได้รับการฝึกให้เขียนจากการอ่านยังไม่เพียงพอ อาจฝึกสมองโดยการใช้คำถามเพิ่มเติมของครู ฝึกให้คิด วิเคราะห์และตอบคำถามบ่อยๆ  ครูอาจกำหนดให้นักเรียนได้สื่อสารกันเองตามรูปแบบหรือนวัตกรรมที่ครูพัฒนาขึ้นเพื่อการสื่อสารอย่างเป็นระบบ

3. การนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดย สมศ. รอบที่ 3  มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
   1) การตรวจสอบทบทวนและประเมินผลการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดย สพป.นครปฐม เขต 2  ที่ดำเนินการอยู่ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก  และพบว่าการดำเนินการของ สพป.นครปฐม เขต 2 ยังขาดความเข้มแข็ง เช่น ดำเนินการตรวจสอบ ทบทวนและประเมิน เฉพาะโรงเรียนที่จะเข้ารับการประเมินภายนอก รอบที่ 3  และพบว่าผลการประเมินระบบประกันภายในไม่สอดคล้องกับสภาพแท้ เมื่อมีการตรวจสอบทวนซ้ำ 
   2) ประสบการณ์จากการเข้าร่วมฟังผลการประเมินและชี้แจงด้วยวาจา โดยคณะผู้ประเมินจาก สมศ. มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างประสบการณ์ตรงต่อผู้นิเทศ และทำให้การนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมินภายนอกดำเนินการได้อย่างตรงจุด อุดจุดอ่อน เสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นใจให้กับสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี
   3) การให้ความรู้ ความเข้าใจแก่สถานศึกษา การสร้างเครื่องมือ สื่อ ช่องทางการสื่อสาร และการนิเทศแบบเกาะติด สามารถช่วยพัฒนาการดำเนินการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้อย่างก้าวกระโดด
   4) การสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของระบบประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกต่อบุคลากรของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และผู้เกี่ยวข้อง เป็นกลสำคัญในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

4. การนิเทศเพื่อขับเคลื่อนจุดเน้นการปฏิรูปการเรียนรู้ (ให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้แทบเล็ต)มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
1) ด้านบริหารจัดการ:ไม่ได้มอบให้เด็กนำกลับบ้าน  แต่มีระบบการจัดเก็บรักษาความปลอดภัยที่ดี แต่ไม่สะดวกต่อการใช้งานเนื่องจากต้องนำเครื่องไปเก็บไว้ห้องเก็บพัสดุ ซึ่งอยู่คนละอาคารกับอาคารเรียนชั้น ป.1  ยังไม่มีการปรับปรุงหลักสูตรในชั้น ป.1 ให้สอดคล้องกับการใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา 
2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูยังไม่ได้ใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา แผน 200 วันการจัดชั่วโมงเรียนยังน้อยไป
3) ด้านสภาพแวดล้อม โรงเรียนยังไม่ได้กำหนดแนวปฏิบัติการใช้งานที่ชัดเจน แต่ได้มีการจัดสภาพห้องเรียนให้มีที่ชาร์จไฟภายในชั้นเรียน 
4) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
ข้อมูลย้อนกลับที่ศึกษานิเทศก์ให้กับครูผู้สอน หลังจากรับทราบข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูและนักเรียน
1) ควรทำบันทึกข้อความเสนอผู้บริหารขอปรับเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่อง โดยขอนำเครื่องเก็บไว้ภายในขั้นเรียนซึ่งต้องจัดทำที่เก็บให้ปลอดภัย
2) ควรประยุกต์ใช้แผนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตบูรณาการเข้ากับการสอนในกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ
3) กำหนดมาตรการให้ครูที่สอนกลุ่มสาระอื่นๆในชั้น ป.1 ได้ใช้แท็ปเล็ทเพื่อการเรียนการสอนด้วย ให้ครบทุกกลุ่มสาระที่มีเนื้อหาอยู่
4) ควรกำหนดจำนวนวันและระยะเวลาในการใช้ขั้นต่ำไว้ ให้ได้ใช้ทุกสัปดาห์
5) ครูที่สอน ป.1 ร่วมกัน ควรวิเคราะห์เนื้อหาทีมีอยู่ในแท็ปเล็ตว่าสอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัดใดในหลักสูตร ตรงกับแผนการจัดการเรียนรู้เดิมอย่างไร และจะบูรณาการเพิ่มเติมไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ใด
6) ร่วมกับครู ICT ในการรณรงค์ให้ความรู้การใช้แท็ปเล็ตเพื่อการเรียนการสอนกับคุณครูคนอื่นๆ ทุกระดับ
7) ควรใช้อุปกรณ์ประกอบให้เต็มประสิทธิภาพ เช่น หูฟัง เพื่อเสริมสร้างให้การเรียนรู้ดียิ่งขึ้นตามคุณลักษณะของสื่อ ที่ออกแบบมา และเพิ่มมาตรการในการดูแลรักษาความสะอาดของหูฟังกรณีตัวติดเชื้อ
8) ควรสังเกตและศึกษาผลกระทบที่มีต่อเด็กจากการใช้แท็ปเล็ต ทั้งทางด้านสุขภาพ พฤติกรรม อารมณ์ และสังคม เพื่อแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหา

5. การนิเทศเพื่อขับเคลื่อนจุดเน้นการปฏิรูปการเรียนรู้ (การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน)
   1) หลักสูตรอาเซียนศึกษายังไม่เป็นระบบ ส่วนใหญ่เป็นบูรณาการในกิจกรรม ขาดเป้าหมายปลายทางที่ชัดเจน ว่าจะเตรียมพร้อมในด้านใดบ้าง และแต่ละด้านจะเตรียมการอย่างไรให้กับเด็ก
   2) ยังขาดแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับบูรณาการอาเชียนศึกษา หรือมีแหล่งเรียนรู้แต่ไม่สามารถใช้อย่างต่อเนื่องตามระดับตามวัยได้
   3) ขาดการบูรณาการเรื่องภาษาสากลสู่กิจกรรมการเรียนรู้ บูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรีนรู้

สรุปการประเมินความสามารถการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ชั้น ป.3
แสดงร้อยละของนักเรียนจำแนกตามระดับคุณภาพ 4 ระดับ ได้แก่ระดับดี (A) ระดับพอใช้ (B) ระดับปรับปรุง (C)  และอ่านไม่ออก (D)
โรงเรียน
จำนวน
นักเรียน
ความสามารถในการอ่าน
ระดับดี (A)
ระดับพอใช้ (B)
ปรับปรุง (C)
อ่านไม่ออก (D)
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
วัดโพธิ์
38
31
81.58
7
18.42
-
-


วัดไผ่สามตำลึง
5
5
100
-
-
-
-


วัดไผ่จรเข้
-
-
-
-
-
-
-


วัดเกษตรตราราม
-
-
-
-
-
-
-


วัดนิลเพชร
20
14
70.00
5
25.00
1
5.00


วัดบัวปากท่า 
13
4
30.77
6
46.15
3
23.08


วัดบัวหวั่น
19
10
52.63
9
47.37
-
-


ตลาดเจริญสุข
17
11
64.71
6
35.29
-
-


วัดบอนใหญ่
1
1
100
-
-
-
-


บ้านหนองปรงกาญจนา
5
2
40.00
1
20.00
2
40.00


วัดบางไผ่นารถ
13
13
100
-
-
-
-


รวมเฉลี่ย
131
91
69.47
34
25.95
6
4.58


กลุ่มบางเลน
บ้านไผ่คอกวัว
3
2
66.67
1
33.33
-
-
-
-
บ้านประตูน้ำพระพิมล
31
19
61.29
7
22.58
4
12.90
1
3.23
วัดดอนยอ 
22
9
40.90
11
50.00
2
9.09
-
-
    
สรุปการประเมินความสามารถการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ชั้น ป.6
โรงเรียน
จำนวน
นักเรียน
ความสามารถในการอ่าน
ระดับดี (A)
ระดับพอใช้ (B)
ปรับปรุง (C)
อ่านไม่ออก (D)
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
วัดโพธิ์
31
26
83.87
5
16.13




วัดไผ่สามตำลึง
3
3
100
-
-




วัดไผ่จรเข้
4
4
100
-
-




วัดเกษตรตราราม
15
12
80.00
3
20.00




วัดนิลเพชร
12
9
75.00
3
25.00




วัดบัวปากท่า
16
12
75.00
4
25.00




วัดบัวหวั่น
30
29
96.97
1
3.33




ตลาดเจริญสุข
12
12
100
-
-




วัดบอนใหญ่
8
8
100
-
-




บ้านหนองปรงกาญจนา
4
2
50.00
2
50.00




วัดบางไผ่นารถ
9
9
100
-
-




รวมเฉลี่ย
144
126
87.50
18
1.25
-
-
-
-
กลุ่มบางเลน
บ้านไผ่คอกวัว
12
8
66.67
4
33.33
-
-


บ้านประตูน้ำพระพิมล
6
4
66.66
1
16.67
1
16.67


วัดดอนยอ 
11
5
45.45
6
54.55
-
-




บทสรุปผลการนิเทศ (ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล เป็นฐานการพัฒนา) 
โรงเรียน
ใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา
ใช้กลุ่มโรงเรียน
เป็นฐานการพัฒนา
ใช้กลุ่มโรงเรียนและ สพป.นครปฐม เขต 2
เป็นฐานในการพัฒนา
หมายเหตุ
วัดโพธิ์
P


1. ใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาหมายถึงโรงเรียนสามารถดำเนินการบริหารจัดการงานวิชาการที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ได้
2. ใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาหมายถึงโรงเรียนที่สามารถบริหารจัดการงานวิชาการด้านคุณภาพด้วยตนเอง โดยมีการประสานประโยชน์ภายในกลุ่ม
3. ใช้กลุ่มโรงเรียน และ สพป.นครปฐม เขต 2 เป็นฐานการพัฒนา หมายถึง โรงเรียนที่ประสานประโยชน์ ทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
วัดไผ่สามตำลึง


P
วัดไผ่จรเข้


P
วัดเกษตรตราราม
P


วัดนิลเพชร
P


วัดบัวปากท่า 
P


วัดบัวหวั่น
P


ตลาดเจริญสุข
P


วัดบอนใหญ่


P
บ้านหนองปรงกาญจนา


P
วัดบางไผ่นารถ
P


บ้านไผ่คอกวัว

P

บ้านประตูน้ำพระพิมล
P


วัดดอนยอ 
P